วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ 
ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ


 







ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)

1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม ตอบและการวิเคราะห์

3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure
     เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง
3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง
5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่

ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS กับ DSS
             EIS ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเหตุการณ์วิกฤตที่มีผลกระทบต่อองค์การในระดับกว้าง เราจะเห็นได้ว่า EIS มีหลักการคล้ายกับ DSS ที่กล่าวถึงในบทที่ผ่านมา ดังนั้นการจำแนก EIS กับ DSS ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสองระบบ ดังต่อไปนี้
EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ขณะที่ DSS ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการระดับกลาง หรือนักวิชาชีพ เช่น วิศวกร นักการตลาด และนักการเงิน เป็นต้น ให้มีประสิทธิภาพขึ้น
EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยมีตาราง รูปภาพ แบบจำลอง และระบบสื่อผสมที่อธิบายข้อมูลอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ขณะที่ DSS จะให้ข้อมูลการตัดสินใจตามลักษณะของงาน โดยผู้ใช้อาจต้องปรับแต่งข้อมูลที่ตนสนใจให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งาน
EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้งานโดยตรง ขณะที่ผู้ใช้ DSS อาจต้องนำสารสนเทศมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการตัดสินใจ หรือใช้เทคนิคในการประมวลผลข้อมูลบ้าง ดังนั้นผู้ใช้ DSS สมควรต้องมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในระดับที่สามารถใช้งานให้จัดการข้อมูลที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ


ความแตกต่างระหว่าง EIS กับ DSS  
DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น
EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม DSS
                การพัฒนา DSS ในช่วงแรกมีจุดประสงค์ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้ใช้แต่ละคนในการตัดสินปัญหาต่างๆ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 ได้มีนักวิชาการที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลายท่านริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ DSS เข้ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มหรือองค์การ เนื่องมาจากในปัจจุบันการตัดสินใจปัญหาส่วนใหญ่ภายในแต่ละองค์การมักจะใช้ความเห็นของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเป็นหลัก เพราะปัญหาจะมีความซับซ้อน ทำให้บุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถพิจารณาอย่างรอบคอบและทำการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ 


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
 (Executive Information System: EIS) 
     
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง